ส่องปัญหา⁉️การขายของหลายช่องทางที่พบบ่อย

1.สต๊อกพัง 

หนึ่งในปัญหาการขายของหลายช่องทางที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อซึ่งค่อนข้างเลี่ยงได้ยากหากไม่ได้มีการจัดการระบบมาดีตั้งแต่เนิ่น ๆ ส่งผลให้เสียโอกาสทางการขายและยังต้องเสียเวลาในการ เช็คจำนวนสินค้า ที่ขายได้และสินค้าที่เหลือ

แนวทางแก้ไข: การทำระบบหลังบ้านซึ่งจะต้องมีคนคอยเช็คสต๊อกและคนที่นับสต๊อกสินค้าในแต่ละแพลตฟอร์มว่าขายได้เท่าไหร่ซึ่งจะต้องอัปเดตให้คนเช็คสต๊อกทราบอยู่เสมอเพื่อที่จะได้วางแผนเพิ่มสต๊อกได้ทันและทุกครั้งที่เกิดปัญหาสต๊อกพังไม่ว่าจะมาจากสินค้าไม่ขึ้นระบบ สินค้าไม่อัปเดตแบบเรียลไทม์ ระบบการเติมสต๊อกขัดข้องจะต้องหาสาเหตุให้เจอแล้วรีบทำการแก้ไขสิ่งเหล่านั้น โดยอาจจะปิดรับออร์เดอร์ชั่วคราวไปก่อน   


2.ออเดอร์ตกหล่น หรือจดออเดอร์ซ้ำ 

อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะร้านค้าที่ขายหลายช่องทางและไม่ได้เคลียร์ ยอดออเดอร์ในแต่ละแพลตฟอร์ม และก็ยังเปิดรับออเดอร์อยู่เรื่อย ๆ ซึ่งหากมีปริมาณออเดอร์เข้ามาเยอะ หากจัดการไม่ดีมักทำให้ออเดอร์ตกหล่น หรือจดออเดอร์ซ้ำ ๆ ก็ย่อมส่งผลต่อรายได้ของร้านแน่นอน  

แนวทางแก้ไข: ต้องมีการจดบันทึกออเดอร์และต้องทำการยืนยันออเดอร์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับลูกค้าทุกครั้ง ๆ อีกทั้งยังต้องมีเวลาเปิด-ปิดรับออเดอร์ที่ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการเช็คออเดอร์แต่ละรอบ  


3.ความซับซ้อนในการอัปเดตข้อมูล

เนื่องจากมีการขายหลาย ๆ แพลตฟอร์มซึ่งอาจจะส่งผลดีในเรื่องของยอดขายและกำไร แต่ปัญหาหนึ่งที่เจอเป็นประจำคือการอัปเดตข้อมูลที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนเนื่องจากใช้หลายแพลตฟอร์มที่บางร้านมักนำมารวมกันแต่แยกอัปเดตข้อมูลทีละอัน รวมถึงการแก้ไข เพิ่มจำนวนสินค้าในแต่ละแพลตฟอร์มซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตกหล่นของข้อมูลได้ง่าย  

แนวทางแก้ไข: ควรแยกไฟล์การขายของแต่ละแพลตฟอร์มออกจากกันให้ชัดเจน ส่วนการอัปเดตข้อมูลให้ทยอยทำทีละอันให้เรียบร้อยแล้วค่อยข้ามไปแพลตฟอร์มอื่น ๆ จะช่วยให้การกรอกข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  


4.ข้อมูลสรุปบัญชีไม่ถูกต้อง 

เพราะการที่มีช่องทางหลายแพลตฟอร์มอาจจะส่งผลต่อการทำ สรุปผลบัญชี ที่อาจจะนำยอดขายทุกแพลตฟอร์มมารวมกันทำให้ไม่ทราบว่าช่องทางไหนขายดี ได้กำไร หรือขาดทุนเท่าไรส่งผลให้ข้อมูลสรุปบัญชีที่ออกมาในรูปแบบรายงานไม่ถูกต้องและยังส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์เพื่อต่อยอดการขายในแต่ละช่องทาง  

แนวทางแก้ไข: การทำบัญชีควรแยกออกจากกันในแต่ละแพลตฟอร์มให้ชัดเจน พร้อมการทำสรุปยอดขายแต่ละวันในแต่ละแพลตฟอร์เพื่อให้ทราบว่าขายสินค้าตัวไหนได้ดี ช่องทางไหนขายดีสุด สินค้าตัวไหนไม่ได้กำไร ช่องทางไหนขายได้น้อยซึ่งง่ายต่อการเช็คและนำข้อมูลไปวิเคราะห์จัดทำสรุปเพื่อวางแผนทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


5.ตอบกลับลูกค้าไม่ทัน ไม่ทั่วถึง หรือรอนาน 

เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ว่าร้านเล็ก หรือร้านใหญ่ก็มักจะสามารถผิดพลาดได้เนื่องจากบางครั้งมีการให้แอดมินตอบกลับเพียงช่วงเวลาทำการ เช่น  06:00 – 20:00  น. แต่หลังจากนั้นที่อาจจะมีลูกค้าทักมาก็อาจจะต้องรออีกวันถึงจะได้ตอบกลับ หรือหากร้านที่มีผู้ใช้งานเข้ามาสอบถามเยอะ ๆ แต่มีแอดมินตอบกลับไม่เพียงพอก็ส่งผลต่อการตอบกลับที่ไม่ทันและได้ไม่ทั่วถึงทำให้ลูกค้าที่ต้องรอเปลี่ยนใจไปซื้อร้านอื่นแทน

แนวทางแก้ไข:   หากการที่ตอบแชทไม่ทันมาจากคำถามที่เจอบ่อย ๆ อาทิ สนใจสินค้าตัวนี้ ผลิตภัณฑ์ช่วยดูแลเรื่องอะไร    ราคาเท่าไหร่ ชำระเงินอย่างไร สั่งซื้อได้ช่องทางไหนบ้าง เราสามารถนำคำถามเหล่านี้มาสร้างเป็น ข้อความตอบกลับอัตโมัติ (Chatbot)   ที่จะช่วยให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้สอบถามระหว่างรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับและควรจะหมั่นตรวจสอบช่องแชทแต่ละแพลตฟอร์มเป็นประจำว่าไม่ได้ค้างแชท หรือยังไม่ได้ตอบลูกค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายให้แก่ร้านค้าได้มากขึ้น



จะดีกว่ามั้ยถ้ามีบริการจาก Start Work เป็นคนช่วยคุณ🙋
👉ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้เอง
👉ได้รูปสวยๆไปใช้ได้ตลอดชีพ
👉มีทีมงานดูแลร้านค้าให้ท่าน
ให้โดดเด่นกว่าใครที่ Start Work พร้อมดูแลและให้คำแนะนำกับคุณ
Start Work รับเปิดร้านค้า และดูแลร้านค้า บน Lazada/Shopee/TikTok Shop/LINE MyShop❤




7 เทคนิค เริ่มต้นขายของออนไลน์ เริ่มดีมีชัยไปกว่าครึ่ง🚩